วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558


อาหารการกิน


การดูแลเรื่องโภชนาการของแพร์รี่ด็อกนั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและการมีชีวิตที่แข็งแรงยืนยาว แพร์รี่ด็อกเป็นสัตว์กินพืช ที่กินหญ้าเป็นอาหารหลักมากกว่า 80-95% ของตลอดช่วงชีวิต
เป็นความคิดและการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ที่ให้เขากินผักสด ผลไม้ ขนม เมล็ดพืช หรืออาหารเสริมต่างๆอย่างตามใจ เพราะนั่นจะทำให้เขามีช่วงชีวิตที่สั้นลง การได้รับโภชนาการที่ผิด ถ้าไม่ส่งผลในทันที ก็จะส่งผลในระยะยาว โดยจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อเขามีอายุราว 4-6 ปี และก็อาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงเท่านั้น จากสถิติแพร์รี่ด็อกที่ได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานสูงสุดถึง 17 ปีเลยทีเดียว

เรื่องง่ายๆที่ควรคำนึงถึงที่สุดสำหรับการทำให้แพร์รี่อยู่กับเราไปนานๆ คือ “การควบคุมน้ำหนัก”
น้ำหนักมาตรฐานโดยเฉลี่ยของแพร์รี่ด็อก คือ 1 – 1.4 กิโลกรัม

 
หากน้ำหนักเกิน 1.5 กิโลกรัม นับว่าจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ ปอด กระดูก ไขมันอุดตัน ต้องได้รับการดูแลโภชนาการเป็นพิเศษเพื่อลดน้ำหนัก
เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของแพร์รี่ไวต่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนชนิด ยี่ห้อ หรือการเพิ่ม-ลดปริมาณอาหารนั้น

 
ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพราะอาหารได้


ต้องค่อยๆเปลี่ยนอาหาร โดยลดปริมาณอาหารเติมลงครั้งละ 1/4 แทนที่ด้วยอาหารชนิดใหม่ ซึ่งขั้นตอนนี้ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์


หรือแม้แต่การลดปริมาณอาหารเม็ดลง ก็ต้องค่อยๆลดปริมาณเพื่อให้แพร์รี่กินหญ้ามากขึ้น

ช่วงแรกของการปรับ-เปลี่ยนอาหารนั้น ในบางรายพบว่า แพร์รี่สามารถมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
เช่น อาการก้าวร้าว ระวนกระวาย เก็บตัว นอนนาน หรือกินอาหารสะสมมากขึ้น เนื่องจากเครียดและวิตกกังวล หากมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป

ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ แพร์รี่ไม่ยอมกินหญ้า ผู้เขียนเปรียบว่าเหมือนเด็กที่เคยให้กินขนมทุกวัน ก็จะไม่รู้จักกินผัก และไม่ชอบกินของดีที่มีประโยชน์ ผู้ใหญ่ต้องคอยสอนและหัดให้เค้ากินจนเป็นนิสัย ^^

ข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาอาหารต่อไปนี้ เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและการกะปริมาณอาหารในแต่ละวัน


เป็นข้อมูลพื้นฐาน เหมาะสำหรับแพร์รี่ที่มีสุขภาพและพัฒนาการเป็นปกติตามช่วงอายุ
โดยผู้เรียบเรียงได้คำนึงถึงอาหารแต่ละชนิดที่สามารถหาได้ในประเทศไทย และปรึกษานักวิจัยเกี่ยวกับค่าความต้องการสารอาหารตามหลักภูมิศาสตร์

โดยสามารถแบ่งได้หลักๆ 5 ช่วงคือ
1 ช่วงแรกเกิด 1-10 สัปดาห์
2 ช่วงวัยเด็ก 10 สัปดาห์ขึ้นไป – 6 เดือน (หรือเมื่อมีน้ำหนักต่ำกว่า 9 ขีด)
3 ช่วงเจริญเติบโต 6 เดือน – 2 ปี (หากแพร์รี่มีน้ำหนักถึง 9 ขีดแล้ว จะจัดว่าอยู่ในช่วงเจริญเติบโต โดยจะมีพัฒนาการทางร่างกายเต็มที่เมื่ออายุ 2 ปี โดยประมาณ)
4 ช่วงโตเต็มวัย 2 ปีขึ้นไป
5 ช่วงผู้ใหญ่-ชรา ตั้งแต่ 5-6 ปีขึ้นไป

 

อาหารที่แนะนำ

– หญ้า
หญ้าที่ดีที่สุดสำหรับแพร์รี่ด็อกคือ หญ้าทิมโมธี ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพสูง และเลือกซื้อถุงขนาดใหญ่ที่สุด เพราะจะมีการหัก ตัด หรือทำให้หญ้าในส่วนที่ดีเกิดความเสียหายน้อยกว่า แพร์รี่ด็อกนั้นไม่ได้กินทุกส่วนของหญ้า โดยจะเลือกกินเฉพาะส่วนที่ดีที่สุดเท่านั้น 
ดังนั้นการเปลี่ยนหญ้าใหม่ทุกวันมีความจำเป็นอย่างมาก หญ้าที่เห็นว่ายังเหลืออยู่ มันอาจเป็นเพียงเศษที่เหลือทิ้งจากการกินของเขาแล้วเท่านั้น และการทิ้งหญ้าไว้นานอาจทำให้เกิดเชื้อราได้อีกด้วย ทั้งนี้หญ้าใหม่ๆยังช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้ดีกว่า

-อาหารเม็ดอาหารเม็ดที่แนะนำคือ Essentials Oxbow Adult Rabbit เนื่องจากเป็นแหล่งเสริมโปรตีนที่ดีและยังมีสารอาหารอื่นๆตรงตามคามต้องการของแพร์รี่ที่สุด การเลือกซื้ออาหารยี่ห้ออื่นนั้น ควรคำนึงถึงปริมาณไฟเบอร์เป็นหลัก และต้องเป็นอาหารสำหรับกระต่ายเท่านั้น มีความสับสนกระหว่าง อาหารเม็ดของกระต่ายและหนู ที่จริงแล้วส่วนประกอบมีความแตกต่างกันมาก แม้คุณค่าทางโภชนาการจะดูใกล้เคียงกันก็ตาม การเลือกซื้ออาหารกระต่าย แนะนำเป็นสูตรสำหรับกระต่ายโตเท่านั้น ซึ่งแพร์รี่สามารถกินได้ทุกช่วงอายุ เพราะส่วนมากอาหารเม็ดของกระต่ายเล็กนั้นจะมีส่วนผสมของอัลฟาฟ่า


recfood

หมายเหตุ : อัลฟาฟ่า เป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้โปรตีนและแคลเซียมสูง สำหรับบางหลักโภชนาที่แนะนำนี้ อัลฟาฟ่าจะจัดเป็นพืชที่ไม่แนะนำเลย เนื่องจากมีแหล่งโปรตีนอื่นทดแทนซึ่งเพียงพอต่อความต้องการแล้ว
นักวิจัยเห็นว่าการแนะนำให้กินอัลฟาฟ่านั้นยากต่อการควบคุมปริมาณแคลเซียมหรือโปรตีน เพราะเข้าใจถึงนิสัยของผู้เลี้ยงที่มักหาอาหารเสริมอื่นๆให้แพร์รี่ด๊อก ซึ่งจะทำให้ได้รับโปรตีนเกินความต้องการของร่างกาย หากได้รับสารอาหารเกินความจำเป็นอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว
สะสมในตับและไตจนทำงานหนัก หรือเกิดนิ่วได้
อัลฟาฟ่าถูกใช้เป็นอาหารของม้าที่ตั้งครรภ์และการทำปศุสัตว์ เพราะทำให้สัตว์โตไว
แต่อย่าลืมว่าการทำปศุสัตว์ไม่ได้คำนึงถึงการมีชีวิตในระยะยาวแต่อย่างใด แต่เป็นการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายโดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่านั้น เหตุนี้นักวิจัยจึงให้ความสำคัญและระมัดระวังมากในการใช้อัลฟาฟ่ากับแพร์รี่ด็อก 

เพิ่มเติม: หากผู้เลี้ยงมีความต้องการจะให้อัลฟาฟ่าแก่แพร์รี่จริงๆ นักวิจัยแนะนำว่าสามารถทำได้ แต่สำหรับแพร์รี่ด็อกที่อายุไม่เกิน 6 เดือนหรือน้ำหนักต่ำกว่า 9 ขีด และแพร์รี่ที่กำลังตั้งครรภ์ ที่มีสุขภาพเป็นปกติเท่านั้น
ปริมาณ ไม่เกิน 1/4 ถ้วยต่อวัน *โดยต้องไม่ให้อาหารเสริมโปรตีนและแคลเซียมจากแหล่งอื่นอีก เช่น หนอน อาหารเม็ดที่ผสมอัลฟาฟ่า ถั่ว อาหารสุนัขสูตรมังสวิรัติ
กล่าวคือ หญ้าทิมโมธี+อัลฟาฟ่า 1/4 ถ้วย+อาหารเม็ดที่ไม่มีส่วนผสมของอัลฟาฟ่า(ไม่เกินวันละ4ช้อนโต๊ะ) สามารถทำได้
แต่ หญ้าทิมโมธี+อาหารเม็ดที่มีอัลฟาฟ่า+อัลฟาฟ่า หรือ หญ้าทิมโมธี+อาหารเม็ดที่ไม่มีอัลฟาฟ่า+หนอน+อัลฟาฟ่า ห้ามอย่างยิ่ง



โภชนาการ


1138530994ช่วงที่1 อายุต่ำกว่า 10 สัปดาห์
หลังจากหย่านมแม่แล้ว มีความต้องการไฟเบอร์จากหญ้า และยังต้องการโปรตีนเป็นพิเศษ
ไทยประเทศไทยนั้นพบว่า แพร์รี่ที่ถูกนำเข้ามา เกือบทั้งหมดจะมีอายุเกิน 10 สัปดาห์แล้วทั้งสิ้น
แต่หากพบว่าแพร์รี่มีขนาดตัวที่เล็กผิดปกติ(เล็กกว่าฝามือ) หรือมีแนวโน้มว่าจะขาดสารอาหารต้องได้รับโภชนาการเป็นพิเศษ
อาจต้องใช้หลอดป้อนอาหาร โดยบดอาหารทุกชนิดให้ละเอียด ส่วนผสมดังนี้
1 นม (แนะนำเป็นนมแพะพาสเจอร์ไรส์)
2 หญ้าทิมโมธี
3 อาหารเม็ด Essentials Oxbow Young Rabbit
4 Oxbow critical care
5 มันฝรั่งหวาน

 

1138530994 สำหรับแพร์รี่ด็อกอายุมากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ถึง 1 ปียังมีความต้องการโปรตีนอยู่บ้าง- หญ้าทิมโมที 80%
– อาหารเม็ด 1-2 ช้อนโต๊ะ /หรือหญ้าขนสดได้บ้าง 15%
– หนอนนก(แนะนำแบบอบแห้ง 1-2 ตัว/วัน)

อาหารเสริมหรือขนมรางวัล ตามรายการที่อนุญาต 5%
(คลิ๊กเพื่อดูรายการอาหารเสริมที่แนะนำ)


แพร์รี่ด็อกอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ควรได้รับโภชนาการแบบควบคุมน้ำหนัก
*น้ำหนักเฉลี่ยสูงสุดของแพร์รี่ด็อก ต้องไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม

การควบคุมน้ำหนัก

ผู้เลี้ยงหลายคนมักบำรุงและเสริมอาหารต่างๆเพื่อนให้เขาอ้วน โดยหารู้ไม่ว่านั้นคือการทำให้เขาตายลงอย่างช้าๆ สิ่งที่ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงคือการทำอย่างไรไม่ให้เขาอ้วนต่างหาก เนื่องจากนิสัยตามธรรมชาติ แพร์รี่จะไม่ออกหากินไกลบ้าน ยิ่งนำมาเป็นสัต์เลี้ยงด้วยแล้ว เขาแทบจะไม่ได้ออกกำลังกายเลย ดังนั้นแค่การกินหญ้าเพียงอย่างเดียวก็ทำให้อ้วนได้โดยที่ไม่ต้องพยายาบำรุง อะไรแต่อย่างใด

ความอ้วนในแพร์รี่นั้นเป็น ปัญหาเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะนำพามาซึ่งโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ปอด โรคตับ-ไต โดยโรคต่างๆนี้มักตรวจพบในแพร์รี่ด็อกที่มีอายุตั้งแต่ 3-4 ปีขึ้นไป อีกทั้งน้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐานนั้น ยังทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นหากได้รับอุบัติเหตุ เช่น เล็บหลุดจากการการปีนป่าย หรือการตกจากที่สูง

 

fooddiet

1138530994สำหรับแพร์รี่ด็อกอายุ 1 – 6 ปี
ยังมีความต้องการโปรตีนอยู่บ้าง และต้องอยู่ในโภชนาการควบคุมน้ำหนัก
– หญ้าทิมโมที 95%
– หนอนนก(แนะนำแบบอบแห้ง 1-2 ตัว/วัน)
– อาหารเม็ด 1 ช้อนชา/ หรือหญ้าขนสดได้บ้าง 5%

*ส่วนการให้อาหารเสริมหรือขนมรางวัลต่างๆนั้น
ขนาดไม่เกิน 1*1 ซม. ปริมาณไม่เกิน 1 ชิ้น 1 ชนิด เพียงปีละ 3-4 ครั้งเท่านั้น

1138530994 สำหรับแพร์รี่ด็อกอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีความต้องการโปรตีนมากขึ้น และต้องอยู่ในโภชนาการควบคุมน้ำหนัก
-หญ้าทิมโมที 95%
-หนอนนก(แนะนำแบบอบแห้ง 1-2 ตัว/วัน)
-อาหารเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ /หรือหญ้าขนสดได้บ้าง 3-5%

*ส่วนการให้อาหารเสริมหรือขนมรางวัลต่างๆนั้น
ขนาด 1*1 ซม. ปริมาณครั้งละ 1 ชิ้น 1 ชนิด เพียงปีละ 3-4 ครั้งเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น