วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

อาหารต้องห้าม



อาหารต้องห้าม


อาหารอันตราย และมีความเสี่ยงสูง


อาหารเหล่านี้มักพบว่าผู้เลี้ยงนิยมให้แพร์รี่ด็อกกิน โดยที่ไม่รู้เลยว่ามันอาจนำมาซึ่งโรคร้ายแรง เช่น โรคท้องอืด ท้องร่วง โรคอ้วน โรคตับ-ไต โรคหัวใจ ซีสใต้ผิวหนัง โรคบิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคท้องอืด”


แพร์รี่ด็อกนั้นเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมสูงมาก แต่หากเป็นเรื่องของระบบทางเดินอาหารแล้ว นับว่ามีความอ่อนไหวที่สุด การได้รับอาหารที่ไม่ถูกต้องตามโภชนาการ ทำให้จุลินทรีย์ในกระเพราะอาหารเสียสมดุล อาหารบางชนิดไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ ทำให้เน่าเสีย เกิดเป็นแก๊สในลำไส้ สร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับเขาอย่างที่สุด โดยเฉพาะ *ซีรีแลค นม แป้ง น้ำตาล ถั่ว และผลไม้ต่างๆ

โรคท้องอืดนั้นพบบ่อยมากในแพร์รี่ด็อก เนื่องจากผู้เลี้ยงขาดความรู้ทางโภชนาการที่ถูกต้อง และได้รับข้อมูลการเลี้ยงมาแบบผิดๆ หากไม่ทันสังเกต ตรวจพบเมื่อแสดงอาการ เมื่อแสดงอาการให้เห็น นั่นคือเป็นระยะที่อันตรายสูงแล้ว

อาหารที่อันตราย ได้แก่ อาหารที่มีแป้ง/น้ำตาล/เกลือ/ไขมัน, อาหารสุนัข/แมว/นก/หนู, ซีรีแลคหรืออาหารเสริมสำเร็จรูปต่างๆ, นมวัว/นมผง/นมเสริมอาหาร, ถั่วชนิดต่างๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน, ผลไม้เกือบทุกชนิด อาหารอันตรายเหล่านี้ ถ้าไม่ส่งผลร้ายในระยะเวลาอันสั้น ก็จะส่งผลในระยะยาวไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอน



สำหรับสัตว์ที่มีขนาดเล็กอย่างแพร์รี่ด็อก การได้รับสารพิษเพียงเล็กน้อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างมาก โดยพืชเหล่านี้สามารถพบได้ในประเทศไทย ดังนั้นหากนำแพร์รี่ไปในสถานทีต่างๆ ควรตรวจดูด้วยว่ามีพืชที่เป็นพิษเหล่านี้อยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่

พืชตระกูลหอมและกระเทียม, ผักโขม, บล็อคโคลี่, ลูกพีช, แอปปริคอท, ดอกหน้าวัว, ผักกาดแก้ว, วอลนัท,


**อัลฟาฟ่า(มีผลการวิจัยแล้วว่าหากได้รับในปริมาณต่อเนื่อง ส่งผลร้ายต่ออวัยวะภายใน ดังนั้นจึงแนะนให้ใช้หนอนนกอบแห้งในการเสริมโปรตีนแทน)
ต้นคริสมาส, กะหล่ำปลี, **มะกล่ำตาหนู, บอระเพ็ด, เชอร์รี่(เกือบทุกชนิด), แอปเปิ้ล(บางชนิด), มันฝรั่ง, เฟิร์น, ว่านหางจะเข้, อัลม่อน, ดอกมะลิ, ดอกรัก, ดอกขจร, ตำลึง, กาแฟ, โกโก้, ถั่วหวาน, ดอกหน้าวัว, งาม่อน, Turnip, กุหลาบพันปี, ข้าวฟ่าง, **หญ้า Tall Fescue

หมายเหตุ: (**) คือพืชที่ให้โทษและเป็นพิษร้ายแรง




992888_584810954885689_1962731484_n

ตรวจพบไซยาไนด์ในพืชสด จำนวน29 ชนิด แบ่งตามระดับไซยาไนด์ ดังนี้

-ระดับน้อย ได้แก่ กระถิน ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กป่า *ข้าวโพด มะม่วง ชุมเห็ดไทย กระถินยักษ์ สะตอเหรียง และเนียง

-ระดับปานกลางได้แก่ *ข้าวฟ่าง ชุมเห็ดเทศ กระถินเทพา

-ระดับมาก ได้แก่ กะทกรก กะทกรกยักษ์ ผักเยนบ้าน ผักเสี้ยนป่า **มันสำปะหลัง **ไมยราบเถา ไมยราบยักษ์ *ชะอม ส้มป่อย ผักหนาม กระถินณรงค์ เทียนต้น *มะกล่ำตาหนู มะกล่ำตาช้าง
การได้รับพิษไซยาไนด์

แบบสะสม มักพบอาการผิดปกติทางสมอง อาจปรากฏอาการทางโรคจิต ประสาทตาเสื่อม หรือฝ่อ
หากได้รับพิษไซยาไนด์ปริมาณมาก จะเกิดอาการพิษเฉียบพลันต่อเซลล์ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองจะขาดออกซิเจน จะมีอาการชักหมดสติ การหายใจผิดปกติ กล้ามเนื้อล้า หายใจลำบาก อาเจียน
หากแพทย์ให้การรักษาไม่ทันจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ถ้าเป็นการกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็จะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น